วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้นในการเต้นลีลาศ


ในการฝึกลีลาศจะต้องคำนึงถึงทักษะเบื้องต้นของการลีลาศเป็นอันดับแรกและจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ หากละเลยถึงหลักและทักษะเบื้องต้นจะทำให้ผู้ฝึกลีลาศขาดความก้าวหน้าและไม่มีศิลปะของการลีลาศอย่างแท้จริงทักษะเบื้องต้นของการฝึกลีลาศเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีดังนี้
องค์ประกอบสำคัญในการลีลาศ องค์ประกอบที่สำคัญในการลีลาศได้แก่ ความรู้ในเรื่องจังหวะของดนตรี ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับผู้ฝึกหัดลีลาศใหม่ ๆ ถ้าไม่สามารถเข้าใจจังหวะดนตรี หรือฟังจังหวะดนตรีไม่ออกจะทำให้การฝึกลีลาศเป็นไปด้วยความยากลำบาก นอกจากนี้ยังทำให้ไม่สามารถลีลาศไปตามจังหวะได้ ซึ่งนักลีลาศเรียกกันว่า “ค่อมจังหวะ”
ดนตรี (Music) มีความสำคัญมากในการลีลาศ เพราะเป็นเครื่องกำหนดการให้จังหวะ ซึ่งจะมีเสียงหนัก เสียงเบา มีวรรคตอน มีความเร็วช้าของช่วงจังหวะของเพลงที่แน่นอน ถ้าจังหวะดนตรีไม่ดีการลีลาศก็ไม่ดีตามไปด้วย จังหวะดนตรีนั้นเปรียบเสมือนเป็นหัวใจสำคัญของเพลง
โครงสร้างของดนตรี ประกอบด้วย
1. จังหวะ (beat) หมายถึง เสียงที่เกิดขึ้นและตกบนตัวโน้ตทุกตัว หรือหมู่ของเสียงที่ทำให้เกิดจังหวะขึ้นในห้องเพลง โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง เช่น จังหวะ 2/4 จังหวะ 3/4 หรือจังหวะ 4/4
2. เสียงเน้น (Accent) หมายถึง เสียงที่เคาะลงบนจังหวะ จะได้ยินชัดเจนมากกว่าเสียงเคาะในห้องเพลง โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง
3. ห้องเพลง (bar) หมายถึง กลุ่มของจังหวะที่ประกอบกันขึ้นเป็นช่วงหรือตอน ปกติจะอยู่ระหว่างเสียงเน้นเสียงหนึ่งกับเสียงเน้นอีกเสียงหนึ่ง
4. ความเร็ว (Tempo) หมายถึง อัตราความเร็วของดนตรีที่บรรเลงโดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนด เช่น ใน 1 นาทีจะบรรเลงกี่ห้องเพลง การหัดฟังจังหวะดนตรีควรเลือกฟังจากดนตรีที่มีเสียงชัดเจน ฟังง่าย ถ้าเป็นดนตรีจังหวะ 2/4 จะได้ยินเสียงเคาะลงบนจังหวะ 2 จังหวะใน 1 ห้องเพลง เสียงที่ได้ยินแต่ละครั้งใน 1 ห้องเพลงนั้น จะมีเสียงหนึ่งเป็นเสียงหนักและอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงเบาต่อเนื่องกันไปทุก ๆ ห้องเพลง การฝึกนับจังหวะจะนับ 1 – 2 , 1 – 2 , 1 – 2 ………… ไปเรื่อย ๆ จนจบเพลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น